การแตกตัวของกรดแก่ - เบสแก่

การแตกตัวของกรดแก่
               กรดแก่  หมายถึงกรดที่เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ 100 %
     ให้สังเกตการแตกตัวของกรดแก่ HCl เปรียบเทียบกับการแตกตัวของกรดอ่อน HF ซึ่งการแตกตัวเป็นดังสมการ
HCl(aq)  ——->   H +(aq)      +    Cl-(aq)
0.1 mol/dm3     0.1 mol/dm3     0.1 mol/dm3
HF(aq)       H +(aq)     +     F-(aq)
0.1  mol/dm3      x mol/dm3         x  mol/dm3

ตัวอย่างกรดแก่สามัญ ได้แก่

สูตรเคมี
ชื่อกรด
HCl
ไฮโดรคลอริก(hydrochloric acid)
HBr
ไฮโดรโบรมิก(hydrobromic acid)
HI
ไฮโดรไอโอดิก(hydroiodic acid)
HNO3
ไนตริก(nitric acid)
HClO4
เปอร์คลอริก(perchloric acid)
H2SO4
ซัลฟิวริก(sulfuric acid)
       กรด  HCl  HBr  HI   HNO3  HClO4  เป็นกรดที่ 1 โมเลกุลสามารถแตกตัวให้ 1 H+ เรียกกรดที่ 1 โมเลกุลแตกตัวให้ 1 H+ นี้ว่ากรดมอนอโปรติก(monoprotic) ซึ่งการแตกตัวของกรดแก่มอนอโปรติก  จะมีลักษณะคล้ายกันคือแตกตัวให้ H+(ซึ่งรวมกับน้ำกลายเป็นไฮโดรเนียมไอออน(H3O+)) และไอออนลบที่มีความเข้มข้นเท่ากันและเท่ากับความเข้มข้นของกรด ดังสมการ
HA(aq)      +   H2O(l)   —–>  A-(aq)   +    H3O+(aq)
ตัวอย่าง             HClO4(aq)  +   H2O(l)  —–>  ClO4-(aq)   +    H3O+(aq)
                                      2 mol                                 2  mol              2  mol
                                   0.5 mol/dm3                    0.5 mol/dm3     0.5 mol/dm3
                            HNO3(aq)  +   H2O(l)  —–>  NO3-(aq)   +    H3O+(aq)
3 mol                                  3  mol             3 mol
0.6 mol/dm3                       0.6 mol/dm3     0.6 mol/dm3

  สรุป กรดแก่มอนอโปรติกความเข้มข้นของไฮโดรเนียม =  ความเข้มข้นของกรด

                                                      หรือ  [H3O+]      =  [HA]


    กรณีกรดแก่  H2SO4  เป็นกรดที่ 1 โมเลกุลสามารถแตกตัวให้ H+ ได้ 2 ไอออนซึ่งเรียกว่ากรด diprotic   ซึ่งกรดที่
สามารถแตกตัวให้ H+ หลายไอออนอาจเรียกรวมๆ ว่ากรด polyprotic กรด H2SO4  สามารถแตกตัวได้ 2 ขั้น ดังนี้
       ขั้นที่  1  H2SO4 เป็นกรดแก่แตกตัวได้ 100%
H2SO4     +     H2O         —–>      HSO4-      +      H3O+
2 mol                                          2 mol               2 mol
0.3 mol/dm3                               0.3 mol/dm3      0.3 mol/dm

       ขั้นที่  2   HSO4-   เป็นกรดอ่อนจะแตกตัวบางส่วนเกิดภาวะสมดุล ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสาร 
ณ ภาวะสมดุลเป็นดังนี้
HSO4-     +     H2O                               SO42-       +      H3O+
0.3-x mol/dm3                               x mol/dm       x mol/dm          

     แต่ในระดับมัธยม มักกำหนดให้  H2SO4  แตกตัว 100%  จึงเขียนสมการและความสัมพันธ์ระหว่างโมลหรือความเข้มข้นของสารดังนี้
H2SO4     +     2H2O        —–>      SO42-               +            2H3O+
2 mol                                           2 mol                             4 mol
0.3 mol/dm3                               0.3 mol/dm3                0.6 mol/dm3  
0.625×10-4  mol/dm3            0.625×10-4  mol/dm         1.25×10-4  mol/dm

ดังนั้น   ความเข้มข้นของไฮโดรเนียม =  2 เท่าของความเข้มข้น H2SO                       หรือ      [H3O+]      =  2[H2SO4]

การแตกตัวของเบสแก่

เบสแก่  หมายถึงเบสที่เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ 100 %

ตัวอย่างเบสแก่ ได้แก่  

สูตรเคมี
ชื่อเบส
LiOH
ลิเทียมไฮดรอกไซด์(lithium hydroxide)
NaOH
โซเดียมไฮดอรกไซด์ (sodium hydroxide)
KOH
โพแตสเซียมไฮดรอกไซด์(potassium hydroxide)
RbOH
รูบิเดียมไฮดรอกไซด์(rubidium hydroxide )
CsOH
ซีเซียมไฮดรอกไซด์(caesium hydroxide)
Ca(OH)2
แคลเซียมไฮดรอกไซด์(calcium hydroxide)
Ba(OH)2
แบเรียมไฮดรอกไซด์(balium hydroxide)
Sr(OH)2
สทรอนเชียมไฮดรอกไซด์(strontrium hydroxide)
สารประกอบไฮดรอกไซด์ของธาตุหมู่ 1  ซึ่งมีสูตรทั่วไป XOH  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไอออนบวกและไฮดรอกไซด์ไอออน โดยโมลหรือความเข้มข้นของไอออนบวก ไฮดรอกไซด์ไอออนและเบสจะเท่ากัน ดังสมการ
XOH(aq)     ——>    X+(aq)     +   OH-(aq)
ตัวอย่าง        NaOH(aq)    ——>   Na+(aq)   +   OH-(aq)
KOH(aq)     ——>    K+(aq)     +   OH-(aq)
2 mol                     2 mol            2 mol
0.5 mol/dm3             0.5 mol/dm3   0.5 mol/dm3

สรุป สำหรับเบสแก่  XOH
[OH-]  =   [XOH-
สารประกอบไฮดรอกไซด์ของธาตุหมู่ 2  ซึ่งมีสูตรทั่วไป Y(OH)2  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไอออนบวกและไฮดรอกไซด์ไอออน โดยโมลหรือความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ไอออนจะเป็นสองเท่าของโมลหรือความเข้มข้นของไอออนบวกและเบส  ดังสมการ
Y(OH)2(aq)     ——>    Y2+(aq)           +       2OH-(aq)
ตัวอย่าง           Ca(OH)2(aq)    ——>    Ca2+(aq)          +       2OH-(aq)
Ba(OH)2(aq)    ——>    Ba2+(aq)          +       2OH-(aq)
2 mol                          2 mol                       4 mol
0.3 mol/dm3                  0.3 mol/dm3              0.6 mol/dm3  
0.25×10-4 mol/dm3         0.25×10-4 mol/dm    0.50×10-4 mol/dm3

สรุป สำหรับเบส Y(OH)2
[OH-]      =   2[Y(OH)2]

ตัวอย่างการคำนวณเกี่ยวกับการแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่

ตัวอย่างที่ จงคำนวณหา [H3O+] , [NO3-] ในสารละลาย 0.015 M HNO3
     วิธีทำ                      HNO3 +H2O   →   H3O+ + NO3-
0.015
เพราะฉะนั้น [H3O+] = [NO3-] = 0.015 โมล/ ลิตร
ตัวอย่างที่ ถ้า KOH 0.1 โมล ละลายน้ำและสารละลายมีปริมาตร 2 ลิตร ในสารละลาย
จะมีไอออนใดบ้างอย่างละกี่โมลต่อลิตร
      วิธีทำ                      KOH (s)    →   K+ (aq) + OH- (aq)
0.1โมล/ 2 ลิตร
สารละลาย KOH      2    ลิตร มี KOH 0.1 โมล
สารละลาย KOH       1    ลิตร มี KOH = 0.05 โมล/ ลิตร
ดังนั้น KOH จะแตกตัวให้ K+ และ OH- อย่างละ 0.05 โมล/ ลิตร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น