ปฏิกิริยาระหว่างกรด กับ เบส




1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสแก่ KOH ได้เกลือ KCl และน้ำ ดังนี้

2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH4OH ได้เกลือ NH4Cl และน้ำ

3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH และเบส NaOH ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa) และน้ำ

4.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด HCN กับเบส NH4OH ได้เกลือ NH4CN และน้ำ
ปฏิกิริยาระหว่างกรด – เบสในน้ำ จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1. กรด – เบสทำปฏิกิริยากันแล้ว มีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ซึ่งถ้ามีกรดเหลือสารละลายจะแสดงสมบัติเป็นกรด แต่ถ้ามีเบสเหลือสารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
2. กรด – เบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือจะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือว่ามาจากกรด – เบสประเภทใด เพราะเกลือจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส (Hydrolysis) ซึ่งทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติกรด – เบสต่างกัน
 ปฏิกิริยาของกรด – เบสกับสารบางชนิด
กรดนอกจากจะทำปฏิกิริยาสะเทินกับเบสได้เกลือกับน้ำแล้ว ยังสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น Zn, Fe, ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊ส H2และเกลือของโลหะ หรือจะทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอนเนต เช่น CaCO3, Na2CO3, NaHCO3 ได้แก๊ส CO2
          เบสก็เช่นเดียวกัน คือ จะทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดได้เกลือกับน้ำ และทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนียม เช่น NH4Cl, (NH4)2SO4 ได้เป็นแก๊ส NH3 หรือทำปฏิกิริยากับเกลือ ดังสมการต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น