การแตกตัวของกรดอ่อน - เบสอ่อน


การแตกตัวของกรดอ่อน monoprotic

              กรดอ่อนหรือเบสอ่อนเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวได้เพียงบางส่วน  ในสารละลายจึงมีไอออนและโมเลกุลที่ไม่แตกตัว  ดังนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงผันกลับได้เกิดภาวะสมดุลสารละลายกรดอ่อน-เบสอ่อน จัดว่าเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน


ตัวอย่างกรดอ่อน monoprotic

HCOOH
 formic acid
HNO2
 nitrous acid
CH3COOH
 acetic acid
HF
 hydrofluoric acid
HCN
 hydrocyanic acid
HClO2
 chlorous acid

เมื่อกรดอ่อน HA  แตกตัวจะให้ไอออนลบและ H3O+ ดังสมการ
HA        +    H2O    →     H3O+    +   A-
ตัวอย่าง                 HCOOH  +    H2O     →    H3O+    +   HCOO-
HClO4    +    H2O    →   H3O+    +   ClO4-
HCN       +     H2O    →   H3O+    +   CN-

ความสัมพันธ์ระหว่างกรดอ่อนและไอออน ณ ภาวะสมดุล
  
      พิจารณาการแตกตัวของกรด HA
HA        +      H2O      →           H3O+    +      A
ความเข้มข้นเริ่มต้น       Ca                 –                          0                0
เปลี่ยนไป                     -x                  –                        +x             +x
ความเข้มข้นที่สมดุล     Ca-x               –                         x               x


การแตกตัวของกรดอ่อน polyprotic
                กรดอ่อนที่มี H มากกว่า 1 อะตอมจะแตกตัวให้ H3O+ มากกว่า 1 ไอออนเรียกกรดประเภทนี้ว่ากรดพอลิโปรติก

                                             ตัวอย่างกรดอ่อน polyprotic

H3PO4phosphoric acid
H3PO3phosphorous acid
H3BO3boric acid
H2CO3carbonic acid
H2SO3sulfurous acid
การแตกตัวของกรดประเภทนี้มีได้หลายขั้น แต่ละขั้นจะมีปริมาณการแตกตัวแตกต่าง
กันการแตกตัวของกรด H3PO4 เกิดได้ 3 ขั้นดังนี้
     กรดพอลิโปรติก ถ้าแตกตัวให้ H3O+ 2 ไอออนเรียกว่ากรดไดโปรติก เช่น H2SO4ถ้าแตกตัวให้ H3O+ 3 ไอออนเรียกว่ากรดไตรโปรติก เช่น H3PO4  การแตกตัวของกรพอลิโปรติกจะมีมากกว่า 1 ขั้น และแต่ละขั้นจะมีค่า Ka เฉพาะตัว โดยทั่วไปค่า Ka1 มีค่ามากกว่าค่า Ka2 และค่า Ka2 มากกว่าค่า Ka3ในการเปรียบเทียบการแตกตัวของกรดจึงมีเปรียบเทียบจากค่า Ka1สำหรับกรด  H3PO3  แม้จะมี  H  3  อะตอมแต่สามารถเกิดการแตกตัวได้เพียง 2ขั้นเท่านั้น

การคำนวณหาความเข้มข้นของ  H3O+ และ OH- ในสารละลายได้   เช่น
     1.  สารละลาย  HNO3  เข้มข้น  1 mol/dm3  จะแตกตัวให้  H3O+ และ  NO3-   อย่างละ 1  mol/dm3



              2.  สารละลายเบสแก่  NaOH เข้มข้น 0.1 mol/dm3 จะแตกตัวให้  Na+ และ OH- เข้มข้น

                   อย่างละ 0.1 mol/dm3


              3.  สารละลายเบสแก่ Ca(OH)2 เข้มข้น  1 mol/dm3  จะแตกตัวให้  Ca2+ 1 mol/dm3  แต่ให้                

                   OH- 2  mol/dm3 



H2SO4 แตกตัวได้ 2 ขั้น ดังนี้
                            


                การแตกตัวของกรดอ่อน - เบสอ่อน

                            กรดอ่อนและเบสอ่อนจัดเป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อน เมื่อละลายน้ำจึงแตกตัวได้ไม่หมด แตกตัวได้เพียงบางส่วนและเป็นส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความเข้มข้นเริ่มต้นของกรดอ่อนหรือเบสอ่อน การแตกตัวของกรดอ่อนและเบสอ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ณ ภาวะสมดุลจึงมีทั้งโมเลกุลของกรดอ่อนหรือเบสอ่อนและไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของกรดอ่อนและเบสอ่อน การบอกความเข้มข้นของ H3O+ และ OH- ที่เกิดจากการแตกตัวของกรดอ่อนและเบสอ่อน นิยมบอกเป็นร้อยละเรียกว่า ร้อยละการแตกตัว(percent ionization : α)  เช่น กรดอ่อน HAเข้มข้น 1 mol/dm3 แตกตัวได้ร้อยละ 5  หมายความว่าในสารละลายปริมาตร 1 dm3 มีกรด HA ละลายอยู่ 1 mol และเมื่อถึงสมดุลกรด HA แตกตัวไปเพียง 0.05 mol  และเหลืออยู่ 0.95 mol



               ** ปริมาณการแตกตัวของกรดอ่อน นอกจากจะบอกเป็นร้อยละแล้ว ยังสามารถบอกโดยใช้ค่าคงที่สมดุล

                    ของปฏิกิริยาก็ได้ เรียกว่า ค่าคงที่สมดุลของกรด หรือ ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (acid ionization

                    constant : Ka)  

              ** ส่วนเบสอ่อน เรียกว่า ค่าคงที่สมดุลของเบส หรือ ค่าคงที่การแตกตัวของเบส (base  ionization 

                   constant : Kb)  เช่น   ถ้า   MOH  เป็นเบสอ่อน


                 ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (Ka) และค่าคงที่การแตกตัวของเบส (Kb) เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่ากรดอ่อน หรือเบสอ่อนนั้นแตกตัวเป็นไอออนได้มากน้อยเพียงใด 

กรดที่มีค่า Ka สูงจะแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่ากรดที่มีค่า  Ka  ต่ำ และเบสที่มีค่า  Kb  สูงจะแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่าเบสที่มีค่า  Kb ต่ำ   กรดอ่อนที่มี H 1 อะตอม 

ใน 1 โมเลกุล เช่น HA  เรียกกรดประเภทนี้ว่า กรดโมโนโปรติก (monoprotic)  ได้แก่ CH3COOH, HCOOH,  HF,  HCN  เป็นต้น



อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น